ชนชาติเกาหลีได้ถ่ายทอดความเป็นอัจฉริยะทางศิลปะผ่านทางดนตรี นาฎศิลป์ และจิตรกรรม ซึ่งได้มีการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 5,000 ปีของประวัติศาสตร์เกาหลี แม้ว่าศิลปะตะวันตกในรูปแบบต่าง ๆ จะแพร่หลายอยู่ในประเทศ แต่ศิลปะเกาหลีอันมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในลักษณะดั้งเดิม หรือผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย
ดนตรีประจำชาติ
ชนชาติเกาหลีมีดนตรีที่เรียกว่า คุกอัก มีที่มาคล้ายคลึงกับดนตรีจีนและญี่ปุ่น แต่ถ้าเราสามารถสัมผัสดนตรีชนิดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง จะพบว่า ดนตรีเกาหลีมีลักษณะแตกต่างอย่างชัดเจนจากดนตรีชนิดอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออก กล่าวคือ ดนตรีเกาหลีประกอบด้วยสามจังหวะในหนึ่งห้อง ในขณะที่ดนตรีจีนและญี่ปุ่นมีสองจังหวะในหนึ่งห้องคุก อัก แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ชองอัก หรือดนตรีในราชสำนัก และมินซกอัน หรือดนตรีพื้นบ้าน ชองอัก ซึ่งเป็นดนตรีชั้นสูง มีท่วงทำนองเชื่องช้า เยือกเย็น และซับซ้อน ส่วนมินซกอัก ได้แก่ ดนตรีของชาวนาชาวไร่ พันซอรี (ดนตรีที่เน้นการแสดงความรู้สึก) และดนตรีพิธีไสยศาสตร์ มีจังหวะที่รวดเร็วและกระฉับกระเฉง
นาฏศิลป์
ศิลปะการร่ายรำแบบเกาหลีแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกับดนตรี คือ แบบราชสำนักและแบบพื้นบ้าน ในแบบฉบับของราชสำนักนั้น ท่าทางของการรำจะช้าและสง่างาม ซึ่งสะท้อนปรัชญาของการเดินสายกลางและการระงับอารมณ์ความรู้สึก เป็นอิทธิพลมาจากปรัชญาขงจื้อ ในทางตรงกันข้าม ระบำพื้นบ้านซึ่งสะท้อนชีวิตการทำงานและศาสนาของสามัญชนจะใช้จังหวะและทำนอง ที่สนุกสนาน เป็นลักษณะของการแสดงออกที่เป็นอิสระและมีชีวิตชีวาของคนเกาหลี เช่น ระบำของชาวนาชาวไร่ ระบำหน้ากาก และการร่ายรำทางไสยศาสตร์การได้รู้จักและเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์เกาหลีจะช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้าใจวัฒนธรรมของคนเกาหลีใต้มากยิ่งขึ้น
จิตรกรรมแบบดั้งเดิมจิตรกรรมแบบเกาหลีแตกต่างจากรูปแบบของตะวันตกอย่างสิ้นเชิงด้วยลักษณะลาย เส้นและการให้สีซึ่งเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวของศิลปะตะวันออก การค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจิตรกรรมโบราณในสุสานหลวงจากยุค สามอาณาจักร (57 ปีก่อนคริสตศักราช –ค.ศ. 668) ช่วยให้เราสามารถเข้าใจวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้นต่อ มาในสมัยราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด มีงานจิตรกรรมแบบพุทธ และศิลปวัตถุอื่น ๆ เกิดขึ้นมากมายในวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่วนในสมัยราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) ลัทธิขงจื้อได้กลายเป็นหลักปรัชญาในการบริหารประเทศ บรรดาปัญญาชนในสมัยนั้นจึงผลิตงานศิลปะที่แสดงถึงอิทธิพลของลัทธิขงจื้อและ ศิลปะแบบจีน ในขณะเดียวกัน จิตรกรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่สามัญชนกลับไม่ได้รับอิทธิพลจากแนว ความคิดใดความคิดหนึ่ง จึงมีการใช้เทคนิคการเขียนภาพที่เป็นอิสระ แสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก รวมทั้งใช้สีสันสดใส เพื่อสื่อถึงพลัง อารมณ์ และความรื่นเริง สำหรับโรงเรียนสอนด้านจิตรกรรมทั้งของแบบเกาหลีและตะวันตกที่เปิดอยู่ใน เกาหลีปัจจุบันก็มีผลงานบางชิ้นที่ผสมผสานกัน
เครื่องปั้นดินเผาประเทศเกาหลีได้รับเอาศิลปะการทำเครื่องปั้นดินเผามาจากประเทศจีนเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ศิลปะแขนงนี้ได้เจริญรุ่งเรืองและกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งชาวเกาหลีมี ความภาคภูมิใจเครื่อง ปั้นดินเผาแบบศิลาดลสีเขียวอมฟ้า ที่มีความสวยงามแบบลึกซึ้งจากราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกและเป็นที่ต้องการของผู้ที่นิยม วัตถุโบราณ เช่นเดียวกับเครื่องกระเบื้องสีขาวจากราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910)ศิลปะแขนงนี้ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะญี่ปุ่นใน ยุคสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ญี่ปุ่นที่รุกรานประเทศเกาหลีในช่วงปี ทศวรรษ 1950 และทำให้ศิลปะแขนงนี้เจริญรุ่งเรืองในญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้
ขนบธรรมเนียมและประเพณี
การเคารพผู้มีอาวุโสโครงสร้างทางสังคมแบบขงจื้อที่มีมานานยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่น ถึงแม้ว่าเราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านนี้บ้าง วัยวุฒิและอาวุโสยังมีความหมายมากและผู้เยาว์จะต้องเคารพคำสั่งของผู้อาวุโส โดยปราศจากข้อโต้แย้ง ดังนั้นบ่อยครั้งเราจะถูกถามว่าอายุเท่าใด และถามถึงสถานภาพทางการสมรส (เป็นที่น่าแปลกอยู่ทีเดียวที่ไม่ว่าเราจะอายุมากเพียงใด เราจะไม่ถือเป็นผู้ใหญ่หากเรายังไม่สมรส อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันในแต่ละครอบครัว) เพื่อจะคะเนถูกถึงความอาวุโสของเราต่อผู้อื่น อย่างไรก็ตามการที่ถูกถามก็มิได้หมายความว่าผู้ถามต้องการล่วงล้ำเข้ามาใน โลกส่วนตัวของเรา แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามนั้นหากเราไม่ต้องการ
ชื่อชาวเกาหลีส่วนใหญ่จะมีชื่อสกุลจำกัดอยู่ในไม่กี่กลุ่มชื่อ เช่น 21% จะมีชื่อสกุลว่า คิม 14% จะมีชื่อสกุลว่า ยี, ลี หรือ รี 8% มีชื่อสกุลว่า ปาร์ค นอกจากนั้นก็มีชื่อสกุลแตกออกไปอีกเช่น ชอย (หรือ แช) เจิง (หรือ ชุง) จาง (หรือ ชาง) ฮัน , ลิม เป็นต้น ชื่อเต็มของชาวเกาหลีก็จะประกอบด้วย ชื่อสกุล 1 พยางค์และชื่อหน้า 2 พยางค์ ชื่อสกุลจะเขียนก่อน สตรีชาวเกาหลีจะไม่เปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรส แต่บุตรและธิดาจะใช้ชื่อสกุลของบิดา
การสมรสชาวเกาหลีถือว่าการสมรสนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต และการหย่าร้างถือว่าเป็นความตกต่ำเสียชื่อเสียงไม่เพียงแต่สำหรับคู่สมรส เท่านั้น แต่รวมไปถึงครอบครัวเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม อัตราหย่าร้างในปัจจุบันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วพอควรการ ประกอบพิธีสมรสในปัจจุบันแตกต่างไปจากในสมัยโบราณ นั่นคือในปัจจุบันนี้พิธีจะเริ่มด้วยแบบทางตะวันตก นั่นคือมีการสวมชุดวิวาห์สีขาวสำหรับเจ้าสาวและทัคซีโดสำหรับเจ้าบ่าว โดยประกอบพิธีในห้องจัดพิธีวิวาห์ หรือในโบสถ์ ต่อมาช่วงบ่ายจะมีพิธีแบบดั้งเดิมในสถานที่ใหม่ด้วยชุดวิวาห์ที่มีสีสันงด งาม
เจเย (พิธีเคารพบูชาบรรพบุรุษ)
ภาษากายเมื่อต้องการกวักมือเรียกผู้อื่นนั้น ควรคว่ำมือลงและกวักนิ้วเรียกโดยใช้นิ้วชิดกัน การกวักมือเรียกโดยหงายฝ่ามือขึ้นนั้นไม่สุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้นิ้วกวักเรียก เพราะถือเป็นกิริยาเรียกสุนัข สำหรับชาวเกาหลี
ฮันบก
ฮันบกเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติเกาหลีมาเป็นเวลาพัน ๆ ปีมาแล้ว ความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลีจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่าย ของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้ก่อน ที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อร้อยปีมาแล้วนั้น หญิงชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน ส่วนสุภาพบุรุษจะสวมชอโกรี (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และพาจิ (กางเกงขายาว) ในขณะที่สุภาพสตรีสวมชอกอรีและชีมา (กระโปรง)
อนดอลตามประเพณีของเกาหลีนั้นห้องต่าง ๆ จะใช้เพื่อจุดประสงค์หลาย ๆ อย่าง และไม่มีการใช้หรือเรียกห้องตามการใช้งานของมัน เช่น ห้องนอน หรือห้องอาหาร เป็นต้น แต่จะมีการนำโต๊ะและเสื่อเข้าไปไว้ตามห้องต่าง ๆ ตามจุดประสงค์การใช้งาน ประชาชนส่วนใหญ่จะนอนบนเสื่อหนาปูบนพื้น ใต้พื้นห้องจะมีท่อระบายอากาศที่ทำด้วยหินหรือคอนกรีต ในสมัยโบราณลมร้อนจะถูกระบายผ่านช่องเพื่อให้เกิดความร้อน ดินเหนียวและปูนจะถูกนำมาวางบนหิน เพื่อป้องกันผู้อยู่อาศัยมิให้ถูกกระทบด้วยก๊าซพิษ ระบบทำความร้อนใต้พื้นนี้เรียกว่า “อนดอล” ในยุคปัจจุบันใช้ท่อน้ำร้อนให้ไหลผ่านพื้นซีเมนต์ซึ่งคลุมด้วยพรมน้ำมัน
คิมจาง
คิมจางเป็นวิธีการเตรียมผักดองกิมจิในฤดูหนาวของชาวเกาหลีแต่ดั้งเดิม และสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นมาหลายชั่วคนแล้ว ในเกาหลีนั้นจะมีผักน้อยประเภทมากและก็ปลูกได้ระหว่าง 3-4 เดือนสุดท้ายของปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคิมจางช่วงต้นฤดูหนาว เพื่อทำอาหารซึ่งกลายมาเป็นอาหารประจำของชาวเกาหลี โต๊ะอาหารในเกาหลีจะขาดกิมจิไม่ได้เลย
การแพทย์แบบตะวันออก
การแพทย์ตะวันออกถือหลักว่าสาเหตุแห่งโรคคือ พละกำลังที่ถดถอยและภูมิต้านทานที่อ่อนลง ไม่ได้เกี่ยวกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ แต่เป็นการเสียสมดุลของพลังแห่งชีวิตในร่างกายโดยรวม ดังนั้นการแพทย์ตะวันออกจึงใช้วิธีรักษาโดยใช้หลักฟื้นฟูระบบภูมิต้านทานและ เสริมสร้างความประสานกลมกลืนของร่างกายโดยรวม มิใช่โดยวิธีกำจัดเชื้อโรควิธีรักษาแบบตะวันออกมีทั้ง การบริโภคยาสมุนไพร การฝังเข็ม การใช้ลูกประคบ และการบำบัดโดย การคว่ำถ้วยสูญญากาศ
ที่มา : http://koreasparkling.exteen.com/arts-and-culture
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น